วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบประสาท


การศึกษาการทำงานของระบบประสาท ทำให้เข้าใจระบบการทำงาน ภายในร่างกายซึ่งทำงานประสานกัน ได้ภายใต้การควบคุม และประสาน เชื่อมโยงของระบบประสาท เซลล์ประสาท จำนวนเป็นพันล้านเซลล์ที่กระจาย อยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ และในสมองของมนุษย์ จะทำงานโดยส่ง
กระแสประสาทและสารเคมีเพื่อสื่อสารถึงกัน สารเคมีนี้เป็น สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) มี หน้าที่ถ่ายทอดคำสั่งระหว่างจุดเชื่อม ต่อประสาท เพื่อให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องทำงาน หรือหยุดการทำงาน การทำงานของระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) และ ระบบประสาทส่วนนอก (Peripheral Nervous System)
1 ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วย สมอง (Brain) และไขสันหลัง (Spinal cord)
สมอง เป็นศูนย์สั่งการ ควบคุมพฤติกรรมและประสานการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนมาก ที่รวมตัวกันอยู่ ในกะโหลกศีรษะ มีน้ำหนักประมาณ 2% ของน้ำหนักร่างกาย เป็นศูนย์กลางการประมวลผลการสัมผัส การรับรู้ การคิด การจำ การเข้าใจ
ไข สันหลัง เป็นเซลล์ประสาทที่อยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง เป็นส่วนเชื่อมต่อจากสมอง เป็นตัวกลางที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่าง ประสาทส่วนนอก กับสมอง และเป็นศูนย์ควบคุมปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexes) ต่าง ๆ ของร่างกาย

2 ระบบประสาทส่วนนอก เป็นเซลล์ประสาทที่อยู่นอกกะโหลกศีรษะ และนอกกระดูกสันหลังประกอบด้วย ปมประสาท (Ganglia) ซึ่ง เป็นที่รวมของตัวเซลล์ประสาท และใยประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับสัมผัสจากภายนอก และรับข่าวสารคำสั่งจากสมอง ถือเป็นส่วนที่ติดต่อ โดยตรงกับโลก หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ระบบประสาทส่วนนอก แบ่งเป็นสองส่วน คือ
2.1 ระบบประสาทโซมาติก (Somatic System)
ประสาท โซมาติก ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอวัยวะสัมผัสต่าง ๆ ส่งรายงานไปยัง ประสาทส่วนกลาง และรับการ ถ่ายทอดคำสั่ง เกี่ยวกับ การเคลื่อนไหว จากประสาทส่วนกลาง สั่งการ ไปยังกล้ามเนื้อลายให้ยืดหรือหดตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในส่วนอวัยวะนั้น ๆ ตามความต้องการ ระบบประสาทโซมาติก ประกอบด้วยประสาทสมอง (Cranial Nerves) 12 คู่ และประสาทไขสันหลัง (Spinal Nerves) 31 คู่
2.2 ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic System)
ระบบประสาท อัตโนมัติ เป็นระบบที่เชื่อมประสาทส่วนกลาง กับอวัยวะที่ทำงานด้วยกล้ามเนื้อเรียบ ทำหน้าที่อย่างอิสระ นอกเหนือ การรับรู้ของจิต ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ภายใน เช่น ต่อมไร้ท่อ กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบ ของ ผนังอวัยวะภายใน และ เส้นเลือด ควบคุมอัตรา การหายใจ การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด การย่อยอาหาร อุณหภูมิในร่างกายระบบนี้แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย คือ
2.2.1 ประสาทซิมพาเธติก (Sympathetic) มี หน้าที่เพิ่มพลังงาน และ ความพร้อมให้ร่างกายมี ความตื่นตัว ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กลัว โกรธ เตรียมพร้อมจะต่อสู้หรือหนีภัย ซึ่งจะแบ่งได้เป็นย่อยๆในควบคุมการทำงานได้ดังนี้
(1) Superior cervical ganglion ควบคุมบริเวณ ม่านตาขยาย กระตุ้นต่อมเหงื่อ และ เปิดเปลือกตา
(2) Celiac and mesenteric ganglia หลอดเลือดหดตัว
(3) Chain ganglia อยู่บริเวณ ไขสันหลัง ควบคุมการเพิ่มการเต้นของหัวใจ หลอดลมขยาย
2.2.2 ประสาทพาราซิมพาเธติก (Parasympathetic) ทำ งานเพื่อประหยัดพลังงาน ควบคุมร่างกาย ให้อยู่ใน สภาพปรกติ เมื่อร่างกายตื่นตัวมากเกินไป ระบบนี้จะค่อย ๆ ลดระดับให้มาสู่สภาพเดิม ทั้งสองระบบ จะทำงานในทางตรงกันข้ามกัน แต่ก็ช่วยเหลือกันซึ่งจะแบ่งได้เป็นย่อยๆในควบคุมการทำงานได้ดังนี้
(1) Edinger- Westphal nucleus ควบคุมการหดตัวของม่านตา และการพักของเลนส์
(2) Salivation nuclei ควบคุมต่อมน้ำลาย
(3) Dorsal nucleus of the vagus  ควบคุมการกระตุ้นการหลั่งกรด การเคลื่อนที่ของทางเดินอาหาร
(4) Nucleus ambiguous ควบคุมให้ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และหลอดลมหดตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น